วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันจันทร์ ที่ 20 มกราคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

การทำงานของสมอง
การรับรู้และการซึมซับที่สอดคล้องกับความรู้เดิมและปรับโครงสร้างใหม่เป็นความรู้ใหม่

วิธีการจัดประสบการณ์
- คำนึงถึงพัฒนาการ
- สอดคล้องกับวิธีการของเด็ก (การเล่น)

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
โครงสร้างทางสติปัญญา 3 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นแสดงการคิดด้วยการกระทำ 
ขั้นที่ 2 ขั้นคิดจากสิ่งที่มอง
ขั้นที่ 3 การคิดโดยใช้สัญลักษณ์

แนวคิดในการจัดการเรียนการสอน
- ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
-โครงสร้างของบทเรียนต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
- การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
- การเสริมแรงของผู้เรียน

กิจกรรม



กระดาษ 1 แผ่นสามารถนำมาพับ ฉีก วาด หรือเขียน เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้และสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้หลากหลายเช่น การพับสามารถสอนเกี่ยวกับรูปเรขาคณิต การนับขั้นตอนในการพับ การวัดกระดาษให้เท่ากันขณะที่พับ การเรียงลำดับจำนวน 

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Structural adjustment   การปรับโครงสร้าง
2. The symbol   สัญลักษณ์
3. Lesson   บทเรียน
4. Counting   การนับ
5. The shape   รูปร่าง

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการทำงานของสมองคอมเมนต์กิจกรรมที่ให้ทำในคาบและสอนให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับผลงานที่ทำ
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนให้ความร่วมมือในการเรียนและตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในทำกิจกรรม



สรุปตัวอย่างการสอน


คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตัวเลขกับเด็กอนุบาล

โดย โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายการนี้จะไปดูกันว่าครูที่โรงเรียนประถมเกรตบาร์ ในเบอร์มิงแฮม มีวิธีการสอนอย่างไร

- ครูที่นี่สอนให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรายบุคคล
- โรงเรียนคิดว่าปรัชญาการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานของนักเรียนเตรียมปฐมวัยเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะให้ครูและนักเรียนได้สร้างความสัมพันธ์กัน
- โรงเรียนคิดว่าถ้าสามารถทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจกับการคิดเลขและใช้ตัวเลขตั้งแต่เนิ่นๆจะมีผลต่อมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์ของทั้งโรงเรียน
- สิ่งที่ครูพยายามทำตั้งแต่อนุบาลถึงประถมหนึ่งคือปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้แน่นและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน
- ที่โรงเรียนเกรตบาร์ เป็นการเรียนรู้อย่างอิสระผ่านการเล่นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรียน
- โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กๆรู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเองและพัฒนาทักษะ เช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย
-โรงเรียนเชื่อว่าหากเด็กๆรู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็กๆผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่นๆก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีด้วย
- ครูอแมนดา เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรสนุกและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
- พยายามไม่ทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องใหญ่แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำทุกวัน
- ต้องให้เด็กสนใจเรื่องตัวเลข รูปร่าง และทำกิจกรรมที่มีเรื่องพวกนี้รวมอยู่
- ครูต้องหาทางสอนเด็กแต่ละคนผ่านชุดกิจกรรม ที่เลือกมาเป็นอย่างดี
- พยายามทำให้เด็กแต่ละคนรู้สึกสนุกกับคณิตศาสตร์
- ครูจะประเมินเด็กผ่านการสังเกตุการณ์ในแต่ละวัน และนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื่อวางแผนการสอนต่อไป

สรุปบทความ


พ่อแม่จะสอนคณิตศาสตร์ลูกอย่างไรให้ได้ผล

ของ สุภัตรา ทรัพย์อุปการ

   เริ่มต้นคือการปลูกฝังให้ลูกของคุณชอบคณิตศาสตร์กันก่อน เช่น การหาของเล่นหรือเกมที่อาจเกี่ยวข้องกับการใช้สมองในการคำนวณเชิงตัวเลข เช่น เกมโดมิโน่ เกมบันไดงู เกมเศรษฐี เกมซูโดกุ เพราะเด็กชอบความสนุก ชอบการแข่งขัน เกมเป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะช่วยให้ลูกของคุณชอบวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น

ขอแนะนำว่าเด็กชอบร้านของเล่น ควรชี้ชวนให้ลูกของคุณสนใจของเล่นที่สนุกแต่แฝงไปด้วยพัฒนาการที่ซ่อนอยู่ในการเล่น พยายามเล่นเป็นตัวอย่างให้ลูกของคุณเกิดความสนุก  และพยายามเล่นของเล่นหลายรูปแบบ หลายชิ้น เพื่อกระตุ้นให้ลูกของคุณได้เห็นของเล่นหรือเกมหลายๆ ชนิด หลาย  แบบด้วยกัน

ลองกำหนดงบประมาณก้อนหนึ่งให้ลูกของคุณดูก่อนว่า คุณมีเงินเท่านี้ เช่น 300 บาท จะซื้อของเล่นชิ้นไหนดี

   จะเห็นได้ว่า ลูกของคุณจะได้ทดสอบการคำนวณจากชีวิตจริง ซึ่งจะทำให้เขาเองมองภาพและคิดตาม อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่จะได้สอนคณิตศาสตร์อย่างง่าย  ไม่ซับซ้อน แต่แอบแฝงไปด้วยการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย

สรุปงานวิจัย


การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยผู้ปกครองผ่านกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก”

ปริญญานิพนธ์ ของ บุษยมาศ ผึ้งหลวง
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย สิงหาคม 2556

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก ” กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและเด็ก ปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 4 – 5 ปี ชั้นอนุบาลปีท่ี 1 ภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนวัดผึ่งแดด (บุญสืบ วชิชนูปถัมภ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พระนครศรีอยธุยา เขต 1 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 20 คนและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กดังกล่าวโดยมีระยะเวลา 8 สัปดาห์ 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบด้วยชุดกิจกรรม “สนุกกับลูก รัก” ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 8 ชุด และแบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการหาค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Sample) 

ชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรัก” มีทั้งหมด 8 ชุด ประกอบด้วย
ชดุท่ีคณติศาสตร์กับสิ่งต่างๆรอบตัว
ชุดท่ี 2 คณิตศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ชุดท่ี 3 คณิตศาสตร์กับธรรมชาติรอบตัว
ชุดท่ี 4 คณิตศาสตร์กับของใช้ใกล้มือ
ชุดท่ี 5 คณิตศาสตร์กับเครื่องแต่งกาย 
ชุดท่ี 6 คณิตศาสตร์กับเงินทองของมีค่า 
ชุดท่ี 7 คณิตศาสตร์กับของเหลือใช้
ชุดท่ี 8 คณิตศาสตร์กับเกม

ผลการจิวัย
ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดย
ผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก” มีความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในทุกทักษะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

แผนการทดลอง




วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2563เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน
พัฒนาการ
คือ ระดับขั้นพัฒนาการ , การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น เด็กเข้าใจในสิ่งที่ตนเองกระทำอยู่

นิยามพัฒนาการ
หมายถึง ความสามารถของเด็กในแต่ละช่วงวัยมีลักษณะเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง

การจัดประสบการณ์
จัดให้มีความสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กมีความเหมาะสมและเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ( ตา ดู , หู ฟัง , จมูก ดมกลิ่น , ลิ้น รับรส , มือ สัมผัส )

ลำดับขั้นพัฒนาการ
ระยะที่ 1 ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี
ระยะที่ 2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด เริ่มตั้งแต่ 2-7 ปี
ระยะที่ 3 ขั้นปฏิบัติการคิดค้านรูปธรรม
ระยะที่ 4 ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามปธรรม

กระบวนการทางสติปัญญา
1. การซึมซับหรือการดูดซึม
2. การปรับและจัดระบบ
3. การเกิดความสมดุล

พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรก
1. ขั้นความรู้แตกต่าง เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆมีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น เล็ก-ใหญ่ สูง-ต่ำ
3. ขั้นรู้หลายระดับ เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆเช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การเรียนคณิตศาสตร์
จะต้องเป็นของจริง มองได้ สัมผัสได้ ทำให้เด็กมีความมั่นใจ


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Absorb   ซึมซับ
2. Assimilation   การซึมซับหรือการดูดซึม
3. Evolution   พัฒนาการ
4. Sensuousness   ประสาทสัมผัส
5. Accommodation   การปรับและการจัดระบบ


ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการโดยใช้วิธีการสอนแบบตั้งประเด็น
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการเรียน
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการเรียน



วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 

วันจันทร์ ที่ 6 มกราคม พ.ศ.2563เวลา 08:30 - 12:30 น.


เนื้อหาที่เรียน

วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรกของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้อธิบายองค์ประกอบของบล็อคและชี้แจงรายวิชาและได้มอบหมายงาน
1. งานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. งานโทรทัศน์ครู


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. Research     งานวิจัย
2. Learning     การเรียนรู้
3. Thinking    การคิด
4. The analysis    การวิเคราะห์
5. The decision    การตัดสินใจ

ประเมิน 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเทคนิคการทำบล็อคและมอบหมายงานให้นักศึกษาอย่างละเอียด
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันอังคาร ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2563 เวลา 08:30 - 12:30 น. (เรียนชดเชย วันจันทร์ ที่ 6 เมษายน พ.ศ.2563 ทบทว...